งานพิมพ์ dye sublimation ดีไหม?
งานพิมพ์ dye sublimation ดีไหม: ข้อดีของผ้าซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของงานพิมพ์ผ้าที่ระบบพิมพ์อื่นๆเช่น UV, Latex, Solvent, Eco Solvent บนผ้าไวนิลหรือวัสดุสังเคราะห์อื่น ๆ ไม่สามารถทำได้มีดังต่อไปนี้คือ
- ผ้า Sublimation สามารถซักและรีดได้เหมือนเสื้อผ้าที่เราสวมใส่
- หากใช้ในสถานที่ไม่โดนแดด สีมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี
- มีน้ำหนักเบา ไร้รอยต่อ ขนย้ายสะดวก ประหยัดค่าขนส่ง ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเนื่องจาก ผ้าสามารถพับเก็บได้โดยผ้าไม่เสียหาย หากยับสามารถรีดให้รอยยับหายไปได้ และหมึกไม่เกิดรอยแตกร้าวจากการพับเก็บ ผ้าบางชนิดเมื่อนำมาใช้งาน สามารถคลายรอยยับโดยไม่ต้องรีด เพิ่มความสะดวกมากยิ่งขึ้น
- งานพิมพ์ผ้า Sublimation ไร้กลิ่นรบกวน ไม่เป็นพิษ สามารถนำไปใช้ในออฟฟิศได้ ผ้าโพลีเอสเตอร์ไม่เป็นมลพิษกับสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายตัวได้ง่าย เป็นที่ยอมรับในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นกลุ่มประเทศในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นเป็นต้น ปัจจุบันเทรนด์ของโลกจะมีการต่อต้านผลิตภัณฑ์จาก PVC ถึงขนาดบางประเทศห้ามใช้วัสดุที่มีส่วนผสม PVC
- งานพิมพ์ผ้า Dye Sublimation ให้สีที่สด(saturated) เข้ม สีสว่างใสไม่ทึม มีความสวยงามโดดเด่นสะดุดสายตา
- ขอบผ้าไม่มีการโค้งงอ ภาพจะมีความเรียบตึง เหมาะกับการใช้งานลักษณะ Banner เช่น Roll Up, Hanging Banner, X-Stand
ส่วนข้อเสียเปรียบของงานพิมพ์ผ้า Sublimation มีดังนี้
- ไม่เหมาะกับงานกลางแจ้งเพราะผ้าซึมซับน้ำ จึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องอยู่กลางแจ้งระยะยาว ยกเว้นผ้าที่นำมาผลิตธงชายหาดซึ่งสามารถโดนน้ำได้
- สีทนแดดได้ประมาณ 6 เดือน
- หากเปรียบเทียบกับงานพิมพ์ Inkjet indoor mujพิมพ์ในความละเอียดเท่ากันและมองในระยะใกล้ตัวแบบอ่านหนังสือ งานพิมพ์ผ้ามีความคมชัดน้อยกว่าวัสดุพิมพ์ Inkjet indoor แต่หากมองในระยะใกลเกิน 3 เมตร จะเห็นความแตกต่างด้านความคมชัดน้อยมากหรือแทบไม่ต่าง
มีระบบพิมพ์ Dye Sublimation แบบไหนบ้าง
ปัจจุบันระบบพิมพ์ Dye Sublimation ที่ใช้กันมีอยู่สองระบบคือ Direct Print และ Paper Transfer ผมจะมาให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับระบบพิมพ์ทั้งสองแบบ และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของทั้งสองระบบ
เริ่มที่ระบบพิมพ์ Direct Print กันก่อนครับ Direct Print เป็นการพิมพ์หมึก Dye Sublimation ลงบนผ้าโดยตรงแล้วนำผ้าไปผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 190-200 องศาเซลเซียสเพื่อให้หมึกระเหิดซึมซับฝังลึกลงไปในใยผ้าแบบถาวรเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต
ส่วนระบบพิมพ์ Dye Sublimation แบบ Paper Transfer เป็นการพิมพ์หมึก Dye Sublimation ลงบนกระดาษ Paper Transfer แบบกลับด้านแล้วนำกระดาษนั้นมาประกบรีดลงบนผ้าที่อุณหภูมิ 190-200 องศาเซ็นติเกรดเพื่อให้หมึกบนกระดาษระเหิดซึมซับฝังลึกลงไปในใยผ้าแบบถาวรเช่นเดียวกัน
งานพิมพ์ Dye Sublimation คืออะไร