Dye Sublimation Printing คืออะไร

Dye Sublimation Printing คือ

 งานพิมพ์ผ้าแบบ Dye Sublimation คืออะไร สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

 

หลายๆท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยหรือไม่รู้จัก ว่างานพิมพ์ Inkjet บนผ้าแบบ Dye Sublimation Printing คือ อะไร  และอาจสงสัยว่ามีความโดดเด่นและความเกี่ยวข้องอย่างไรกับงานป้ายโฆษณา งานบูธแสดงสินค้า งาน backdrop  วันนี้ บริษัท แอด ออน จะมาแนะนำให้ท่านรู้จักและมีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบพิมพ์ผ้าแบบ Dye Sublimation โดยจะไม่เน้นข้อมูลเทคนิค แต่จะเน้นให้ข้อมูลว่าระบบนี้คืออะไร และเหมาะกับการใช้งานประเภทไหน สามารถตอบโจทย์การใช้งานอะไรที่ระบบพิมพ์ อื่น ๆ  ไม่สามารถตอบโจทย์ได้

 

งานพิมพ์ Dye Sublimation คือ

กระบวนการ  Dye Sublimation Printing คือ กระบวนการระเหิด เป็นกระบวนการเปลี่ยนของแข็งให้เป็นก๊าซโดยไม่ผ่านการแปรสภาพเป็นของเหลว เช่นน้ำแข็งแห้ง (dry ice) เปลี่ยนสภาพจากของแข็งเป็นก๊าซทันทีถือเป็นกระบวนการ Sublimation หรือระเหิด   แต่การเปลี่ยนน้ำแข็ง (ที่เราใส่น้ำดื่มกัน) ให้กลายเป็นก๊าซ ไม่ใช่กระบวน Sublimation เพราะน้ำแข็งต้องละลายเป็นน้ำก่อนที่จะระเหยเป็นก๊าซ

Dye Sublimation คือ การนำหมึกประเภท Dye Sublimation มาพิมพ์ลงวัสดุพิมพ์ เมื่อหมึกแห้งแล้ว เราจะนำงานพิมพ์นั้นมาผ่านความร้อนที่ 190-200 องศาเซลเซียส เพื่อให้หมึกระเหิดกลายเป็นก๊าซและซึมซับฝังติดแน่นลงไปในใยของเนื้อผ้าแบบถาวร ซึ่งสามารถนำผ้านั้นมาซักและรีดได้ แต่มีข้อแม้ว่าผ้าที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นต้องมีส่วนผสมใยโพลีเอสเตอร์ขั้นต่ำที่ 60% ระบบการพิมพ์จะแบ่งหลักเป็น 2 ระบบ คือ ระบบ Paper Transfer (พิมพ์ลงบนกระดาษก่อนนำไปรีดลงผ้า)  และ ระบบ Direct Print (พิมพ์ลงบนผ้าโดยตรงก่อนนำไปเข้าเครื่องอบความร้อน) ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

งานพิมพ์ Dye Sublimation มีการนำไปใช้งานอย่างไร

ระบบพิมพ์ Dye Sublimation ส่วนใหญ่จะใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้า (garment) เพื่อพิมพ์ลวดลายพิเศษ หรือ design ต่าง ๆ เพื่อผลิตเสื้อผ้า เช่นเสื้อกีฬา หรือผลิตตัวอย่างลวดลายผ้าก่อนผลิตจริงในล็อตใหญ่ โดยเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรม garment จะมีขนาดหน้ากว้างไม่เกิน 1.80 เมตร  นอกจากนี้ ร้านขายของที่ระลึกบางร้านจะมีบริการพิมพ์รูปภาพลงบนเสื้อยืด พิมพ์รูปลงบนแก้ว หรือจาน โดยจะพิมพ์ภาพกลับด้านลงบนกระดาษ (Paper Transfer) แล้วนำกระดาษนั้นไปอัดลงบนเสื้อยืด แก้ว หรือจาน ด้วยแท่นอัดด้วยความร้อน 190-200 องศาเซลเซียส หมึกที่พิมพ์ลงบนกระดาษจะระเหิดฝังลงบนใยผ้า แก้ว หรือจานนั้น ๆ เป็นของที่ระลึกยอดนิยม

ปัจจุบันได้มีการนำระบบพิมพ์ Dye Sublimation Inkjet ขนาดหน้ากว้าง 3.20 เมตร มาใช้ในงานอื่น นอกเหนืออุตสาหกรรม  garment และของที่ระลึก เช่น

  1. พิมพ์ลงบนผ้าเพื่อใช้งานตกแต่งภายในสำหรับงานที่ต้องการลวดลายหรือ design พิเศษในงานทำผ้าม่าน ผ้าคลุมเตียง ปลอกหมอน wall paper เป็นต้น
  2. นอกจากนี้ยังมีการนำผ้ามาผลิตป้ายโฆษณา soft signage ที่กว้างได้ถึง 3 เมตร และยาวได้หลายสิบเมตรจำกัดโดยความยาวของม้วนผ้า ซึ่งในปัจจุบัน ป้ายโฆษณาที่นิยมใช้ผ้าได้แก่ งานออกบูธ, และบูธแสดงสินค้า, Backdrop ขนาดใหญ่, Backdrop ถ่ายรูป แถลงข่าว PR สัมนา, ธงชายหาด, ผ้าคลุมโต๊ะ, Rollup Banner, Hanging Banner, ผ้า Lightbox,  เต็นท์ และอื่น ๆ อีกมากมาย  ซึ่งการใช้ผ้าในงานข้างต้นจะได้เปรียบด้านการติดตั้งที่ง่ายกว่า (ไม่ต้องรีดสติกเกอร์) รวดเร็วกว่ามาก ผ้ามีน้ำหนักเบากว่ามาก สามารถพับได้จึงมีความสะดวกมากในการขนส่งและเคลื่อนย้าย สามารถพับเก็บและนำมาใช้ใหม่ได้อย่างสะดวก ให้ความคุ้มค่ามากกว่า
en_USEN